นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เปิดเผยว่า ธุรกิจเอสเอ็มอียังอยู่ในภาวะถดถอย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวมานาน เกิดความเสียหายวงกว้าง กรมฯ ต้องเข้าไปดูแลอย่างเข้มข้นในกลุ่มธุรกิจที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และเปลี่ยนผู้เล่นในตลาด จากญี่ปุ่น เป็นจีน ซึ่งปลายเดือนม.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นี้ ได้เชิญ 10 สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์และที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สมาคมไทยคอมโพสิท มาหารือร่วมกัน โดยมีน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน เพื่อสะท้อนปัญหา และหาแนวทางช่วยเหลือให้กับธุรกิจ หากมีปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล กระทรวงอุตฯ จะได้หาข้อสรุปและนำเสนอครม.ต่อไป
“รมว.อุตสาหกรรม เป็นห่วงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก โดยมอบนโยบายให้กรมฯ เข้าไปเจาะลึกปัญหาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแต่ละกลุ่ม เพื่อแก้ได้ถูกจุด ยอมรับว่า ตอนนี้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กของชิ้นส่วนยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย ไม่ใช่แค่ผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงจากรถสันดาปมาเป็นรถอีวี ที่ใช้ชิ้นส่วนลดลงมาก แต่อีกส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนผู้เล่นในอุตสาหกรรม คือจากญี่ปุ่นเป็นจีน ซึ่งส่วนหนึ่งจีนไม่ได้ใช้ซัพพลายเออร์ในไทย แต่เลือกใช้จากผู้ผลิตในจีนเอง ถ้าไม่เร่งเข้ามาช่วยเหลือ บางรายอาจถึงขั้นต้องปิดตัวและปรับเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นที่ใช้ทักษะที่มีหรือพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเป็นทางรอด ซึ่งกรมฯ จะนำข้อสรุปในที่ประชุมทั้งหมด เพื่อมาช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ปี 67 นั้น กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนายกระดับผู้ประกอบการกว่า 18,400 ราย คาดจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ภายใต้งบประมาณกว่า 1,200 ล้านบาท และล่าสุดรัฐบาลเตรียมจัดงบประมาณกลางเพิ่มให้อีก 800 ล้านบาท แบ่งเป็น ซอฟต์เพาเวอร์ 700 ล้านบาท แยกเป็นอาหาร 600 ล้านบาท แฟชั่น 100 ล้าน และในส่วนของบีซีจีอีก 100 ล้านบาท ดังนั้นด้วยงบประมาณที่เพิ่มเป็นเกือบ 2,000 ล้านบาท คาดว่า จะทำให้มูลค่าเศรษฐกิจเพิ่มถึง 20,000 ล้านบาทได้
ทั้งนี้ไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงและความผันผวนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ภาวะโลกเดือด ภาวะเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ และเมื่อโลกเปลี่ยนอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับเพื่อให้พร้อมรับกับอนาคต ดังนั้นกรมฯ จะเดินหน้าส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) วิสาหกิจชุมชน ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับสากล สร้างมูลค่าเพิ่มและประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้กำชับให้ดีพร้อมส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มที่
นายภาสกร กล่าวว่า นโยบายสำคัญของปี 2567 คือโลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคตผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ดังนี้ 1.ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY)ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DIGITAL TRANSFORMATION) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมเศรษฐกิจสูงวัย เศรษฐกิจสุขภาพ (AGING SOCIETY) ด้วยการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับผู้บริโภคในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (DEFENCE INDUSTRY) ให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
นายภาสกร กล่าวว่า 2. ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ผ่านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ตลอดจนการพัฒนาชุมชนตามแนวคิด ชุมชนเปลี่ยนปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการเปลี่ยนชุมชน 3. ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ